กำเนิดโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม โรงเรียนหลวงประจำจังหวัดอ่างทอง

โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งแรกที่มีความเก่าแก่คู่มากับจังหวัดอ่างทองมายาวนาน โดยมีประวัติดังนี้
ปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงเห็นว่าประเทศสยามจะเจริญ ทัดเทียมนานาอารยประเทศได้ทางหนึ่งก็ด้วยการให้การศึกษาแก่ราษฎรโดยทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกใน พระบรมมหาราชวังเพื่อเป็นตัวอย่าง สำหรับลูกเจ้านายและลูกข้าราชการเข้าเรียนวิชาสามัญ สถานที่ดังกล่าวนี้คือ โรงสกูลหลวง (โรงเรียนหลวง) และ โรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2425 ได้มีดำรัสสั่งให้จัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเพื่อฝึกหัดหม่อมเจ้าและหม่อมราชวงศ์ให้เป็นทหารมหาดเล็ก และได้ทรงเปลี่ยนให้เป็นโรงเรียนสำหรับข้าราชการทั่วไปในปี พ.ศ. 2427
หลังจากจัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเป็นที่เรียบร้อยในปี พ.ศ. 2427 แล้ว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมารจัดตั้งโรงเรียนหลวงให้แก่ราษฎรเล่าเรียนขึ้นตามวัด เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลืองเงินซื้อที่ดินและสร้างโรงเรียน โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกตั้งขึ้นที่ วัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ ต่อมาก็ตั้งเพิ่มในกรุงเทพฯ อีก 3 โรง ในกรุงเก่า 1 โรง และในเมืองสมุทรปราการ 1 โรง รวมทั้งสิ้น 6 โรง
ปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงเห็นว่าประเทศสยามจะเจริญ ทัดเทียมนานาอารยประเทศได้ทางหนึ่งก็ด้วยการให้การศึกษาแก่ราษฎรโดยทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกใน พระบรมมหาราชวังเพื่อเป็นตัวอย่าง สำหรับลูกเจ้านายและลูกข้าราชการเข้าเรียนวิชาสามัญ สถานที่ดังกล่าวนี้คือ โรงสกูลหลวง (โรงเรียนหลวง) และ โรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษ
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2425 ได้มีดำรัสสั่งให้จัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเพื่อฝึกหัดหม่อมเจ้าและหม่อมราชวงศ์ให้เป็นทหารมหาดเล็ก และได้ทรงเปลี่ยนให้เป็นโรงเรียนสำหรับข้าราชการทั่วไปในปี พ.ศ. 2427
หลังจากจัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเป็นที่เรียบร้อยในปี พ.ศ. 2427 แล้ว พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมารจัดตั้งโรงเรียนหลวงให้แก่ราษฎรเล่าเรียนขึ้นตามวัด เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลืองเงินซื้อที่ดินและสร้างโรงเรียน โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรกตั้งขึ้นที่ วัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ ต่อมาก็ตั้งเพิ่มในกรุงเทพฯ อีก 3 โรง ในกรุงเก่า 1 โรง และในเมืองสมุทรปราการ 1 โรง รวมทั้งสิ้น 6 โรง
โรงเรียนหลวงซึ่งตั้งในปี พ.ศ. 2427 – 2428 ล้วนตั้งอยู่ในวัดหลวงทั้งสิ้น รวมโรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษาชั้นมูลแก่ราษฎร มีดังนี้
ในกรุงเทพมหานคร 14 โรง แบ่งเป็น
กรุงเทพฯ ฟากตะวันออก 7 โรง ตั้งที่วัดมหรรณพาราม วัดราชบพิธ วัดเทพธิดาราม วัดบพิตรภิมุข วัดมหาพฤฒาราม วัดราชบุรณะ และวัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำภู)
กรุงเทพฯ ฟากตะวันตก 7 โรง ตั้งที่วัดประยูรวงษาวาส วัดอินทาราม วัดพิไชยญาติการาม วัดอรุณราชวราราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดคฤหบดี และวัดทองธรรมชาติ
กรุงเทพฯ ฟากตะวันออก 7 โรง ตั้งที่วัดมหรรณพาราม วัดราชบพิธ วัดเทพธิดาราม วัดบพิตรภิมุข วัดมหาพฤฒาราม วัดราชบุรณะ และวัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำภู)
กรุงเทพฯ ฟากตะวันตก 7 โรง ตั้งที่วัดประยูรวงษาวาส วัดอินทาราม วัดพิไชยญาติการาม วัดอรุณราชวราราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดคฤหบดี และวัดทองธรรมชาติ
ในหัวเมือง 6 แห่ง แบ่งเป็น
กรุงเก่า 4 โรง ตั้งที่วัดเสนาศนาราม วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ วัดกษัตริยาธิราช และวัดศาลาปูน
เมืองสมุทรปราการ 1 โรง ตั้งที่วัดกลาง
เมืองนครเขื่อนขันธ์ (สมุทรปราการ) 1 โรง ตั้งที่วัดโปรดเกตุเชษฐาราม
กรุงเก่า 4 โรง ตั้งที่วัดเสนาศนาราม วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ วัดกษัตริยาธิราช และวัดศาลาปูน
เมืองสมุทรปราการ 1 โรง ตั้งที่วัดกลาง
เมืองนครเขื่อนขันธ์ (สมุทรปราการ) 1 โรง ตั้งที่วัดโปรดเกตุเชษฐาราม
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2429 พระองค์ทรงสนับสนุนให้ขยายการศึกษาออกไปถึงส่วนภูมิภาค มีโรงเรียนในเมืองต่างๆ ตั้งเพิ่มขึ้นดังนี้
เมืองนครปฐม ตั้งที่ วัดปฐมเจดีย์
เมืองเพชรบุรี ตั้งที่วัดคงคาราม
เมืองราชบุรี ตั้งที่วัดสัตตนารถปริวัตร
เมืองพระพุทธบาท (สระบุรี) ตั้งที่วัดรวกท่าเรือ (พระนครศรีอยุธยา)
เมืองลพบุรี ตั้งที่ วัดเสาธงทอง
เมืองมโนรมย์ (ชัยนาท) ตั้งที่วัดโบถส์
เมืองอ่างทอง ตั้งที่วัดชัยมงคลและวัดไชโย
เมืองนครปฐม ตั้งที่ วัดปฐมเจดีย์
เมืองเพชรบุรี ตั้งที่วัดคงคาราม
เมืองราชบุรี ตั้งที่วัดสัตตนารถปริวัตร
เมืองพระพุทธบาท (สระบุรี) ตั้งที่วัดรวกท่าเรือ (พระนครศรีอยุธยา)
เมืองลพบุรี ตั้งที่ วัดเสาธงทอง
เมืองมโนรมย์ (ชัยนาท) ตั้งที่วัดโบถส์
เมืองอ่างทอง ตั้งที่วัดชัยมงคลและวัดไชโย
กำเนิดของโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคมเริ่มที่วัดชัยมงคล โดยมีพระพุทธรักขิตมุนี (เปลี่ยน) เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง ซึ่งจำพรรษาอยู่เป็นผู้อุปการะ
และมีนายอินเป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก โดยใช้ศาลาการเปรียญจำนวน 4 ห้องเป็นห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2451 มีการตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงิน แต่นักเรียนวัดชัยมงคลไม่มารวมด้วย
ปี พ.ศ. 2454 กระทรวงธรรมการได้สั่งย้ายโรงเรียนหลวงประจำจังหวัดอ่างทองจากวัดชัยมงคลมายังวัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงิน
ปี พ.ศ. 2455 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้สั่งให้รวมวัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงินเป็น วัดเดียวกัน ให้ชื่อว่าวัดอ่างทอง และแต่งตั้งให้พระครูอุเทศ (แผ้ว อัมภชาติ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง จึงทำให้โรงเรียนวัดอ่างทองได้เป็นโรงเรียนหลวงประจำจังหวัดอ่างทอง โดยนายกวย ฉายินทุ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่
ราวปี พ.ศ. 2469 โรงเรียนได้ขออนุมัติจากกระทรวงธรรมการเปิดทำการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ปี พ.ศ. 2478 โรงเรียนได้เปิดทำการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ปี พ.ศ. 2480 โรงเรียนได้ล้มเลิกชั้นประถมศึกษาทั้งหมด
ปี พ.ศ. 2482 พระโพธิวงศาจารย์ (แผ้ว อัมภชาติ) เจ้าคณะจังหวัดอ่างทองร่วมกับนายพัน ปัทมโรจน์ และประชาชนร่วมกันบริจาคเงินสร้าง
อาคารเรียนถาวรจนสำเร็จ กระทรวงธรรมการได้อนุมัติชื่อว่า โรงเรียนประจำจังหวัดอ่างทอง (ปัทมโรจน์ราษฎร์บำรุง) 3 กรกฎาคม 2494 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์ราษฎร์บำรุง
ปี พ.ศ.2515 โรงเรียนได้ย้ายมาตั้ง ณ ที่ใหม่บริเวณวัดโพธิ์ (ร้าง) และกระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอ่างทองวิทยาคม
ปี พ.ศ.2521 ศิษย์เก่าเสนอกระทรวงศึกษาธิการขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2454 กระทรวงธรรมการได้สั่งย้ายโรงเรียนหลวงประจำจังหวัดอ่างทองจากวัดชัยมงคลมายังวัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงิน
ปี พ.ศ. 2455 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้สั่งให้รวมวัดโพธิ์ทองและวัดโพธิ์เงินเป็น วัดเดียวกัน ให้ชื่อว่าวัดอ่างทอง และแต่งตั้งให้พระครูอุเทศ (แผ้ว อัมภชาติ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง จึงทำให้โรงเรียนวัดอ่างทองได้เป็นโรงเรียนหลวงประจำจังหวัดอ่างทอง โดยนายกวย ฉายินทุ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่
ราวปี พ.ศ. 2469 โรงเรียนได้ขออนุมัติจากกระทรวงธรรมการเปิดทำการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ปี พ.ศ. 2478 โรงเรียนได้เปิดทำการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ปี พ.ศ. 2480 โรงเรียนได้ล้มเลิกชั้นประถมศึกษาทั้งหมด
ปี พ.ศ. 2482 พระโพธิวงศาจารย์ (แผ้ว อัมภชาติ) เจ้าคณะจังหวัดอ่างทองร่วมกับนายพัน ปัทมโรจน์ และประชาชนร่วมกันบริจาคเงินสร้าง
อาคารเรียนถาวรจนสำเร็จ กระทรวงธรรมการได้อนุมัติชื่อว่า โรงเรียนประจำจังหวัดอ่างทอง (ปัทมโรจน์ราษฎร์บำรุง) 3 กรกฎาคม 2494 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์ราษฎร์บำรุง
ปี พ.ศ.2515 โรงเรียนได้ย้ายมาตั้ง ณ ที่ใหม่บริเวณวัดโพธิ์ (ร้าง) และกระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอ่างทองวิทยาคม
ปี พ.ศ.2521 ศิษย์เก่าเสนอกระทรวงศึกษาธิการขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จนถึงปัจจุบัน